วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์

 

วิสัยทัศน์ (Vision)

    “สุขภาพดี การศึกษาทั่วถึง  เกษตรกรรมยั่งยืน  ยึดวิถีชาวพุทธ นำการพัฒนา ”

 

พันธกิจ (Mission)

1. ส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพเสริมของท้องถิ่น
3. สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์
4. ส่งเสริมให้เป็นตำบลสุขภาพดี 10 ตัวชี้วัด
5. ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
7. พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
8. บรรเทาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
9. สนับสนุนการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น  
 

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

 จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  เป็นการกำหนดขอบเขตหรือประเภทกิจกรรมที่ควรค่าแก่การดำเนินงานทั้ง ในด้านเศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรม  ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะสนับสนุนหรือนำไปสู่การบรรลุภารกิจหลักและวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้

            จุดมุ่งหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน  นอกจากจะนำไปสู่การบรรลุภารกิจหลักและวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้แล้ว  ยังต้องคำนึงถึงหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน  ซึ่งหมายถึงการรักษาและเพิ่มพูนความเจริญงอกงามของท้องถิ่น ในลักษณะที่จะเป็นการสืบสานความเจริญงอกงามนั้น ให้สืบเนื่องไปจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน  โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายในด้านต่างๆ  ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  และได้กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลกระโทก  ไว้ดังนี้

            1. เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

            2. ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริหารงานของอบต.

            3. เพื่อเพิ่มรายได้และเศรษฐกิจให้ชุมชน

            4. เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นคงอยู่และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี

            5. การบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สะดวก  รวดเร็ว และเสมอภาค

            6. เพื่อพัฒนาการศึกษาให้กับประชาชนในเขตพื้นที่

            7. เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของรัฐโดยเท่าเทียมกัน

            8. เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

            9. เพื่อส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมอันดีงาม

            10. เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ

 

 

แนวทางการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนา
แนวทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนา

แนวทางที่ ๑. พัฒนารายได้จากการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์  ศิลปวัฒนธรรม  ประเพณีท้องถิ่น  ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น  การเป็นศูนย์กลางฝึกอบรมสัมมนา  กีฬาเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ


ยุทธศาสตร์ที่ ๑  การพัฒนาการท่องเที่ยว

กลยุทธ์  การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

แนวทางที่ ๒. สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้าน    ศาสนา  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
แนวทางที่ ๓. ค้นหาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่
แนวทางที่ ๔. พัฒนาสาธารณูปโภค  สาธารณูปการเข้าแหล่งท่องเที่ยวและป้ายบอกทาง
แนวทางที่ ๕. การเพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการ/การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว
แนวทางที่ ๖. การพัฒนาผู้มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวและการเพิ่มมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
แนวทางที่ ๑. ส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่นในทุกๆด้าน  ตามหลักการบริหารการจัดการที่ดี ยุทธศาสตร์ที่ ๒
การบริหารราชการตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี

กลยุทธ์
การเพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่น
แนวทางที่ ๒. ส่งเสริมการกระจายอำนาจถ่ายโอนภารกิจและบุคลากรภาครัฐลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางที่ ๓. การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรให้มีความเหมาะสมสอดคล้อง
แนวทางที่ ๔. ส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
แนวทางที่ ๑. ส่งเสริมกิจการพาณิชย์และลงทุน/ตลาดเพื่อการพาณิชย์

 

ยุทธศาสตร์ที่ ๓
เสริมสร้างความสามารถทางเศรษฐกิจและบรรเทาปัญหาความยากจน


กลยุทธ์   การส่งเสริมอาชีพ

แนวทางที่ ๒. เสริมสร้างเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
แนวทางที่ ๓. ส่งเสริมอาชีพ/พัฒนาสินค้าชุมชน/ตลาดชุมชน/ร้านค้าชุมชน
แนวทางที่ ๔. สร้างความเข้มแข็งด้านการเกษตรกรรม/สินค้าชุมชน
แนวทางที่ ๕. เสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางที่ ๖. การสร้างเครือข่ายสินค้าชุมชน/ศูนย์ประสานสินค้าชุมชน
แนวทางที่ ๗. พัฒนาและส่งเสริมการค้าของชุมชนในเชิงพาณิชย์อิเลคทรอนิคส์
แนวทางที่ ๘. พัฒนาและส่งเสริมโรงสีชุมชน
แนวทางที่ ๑. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ ในท้องถิ่นและชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ ๔
การอนุรักษ์และพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน


กลยุทธ์   การดูแล รักษาและฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แนวทางที่ ๒. การกำจัดมูลฝอยรวมและสิ่งปฏิกูลรวม และการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะระดับอำเภอ
แนวทางที่ ๓. การกำจัดมูลฝอย  สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย  ในชุมชนและท้องถิ่น
แนวทางที่ ๔. การจัดการ  การบำรุงรักษา  และการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้  การใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ ๕. การสนับสนุนการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ท้องถิ่นรักษ์สิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน
แนวทางที่ ๖. การปลุกจิตสำนึกและค่านิยมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความรู้และความเข้าใจในการ อนุรักษ์และส่งเสริมการค้นหาสิ่งอื่นๆ  ในท้องถิ่นไปทดแทนพลังงาน
แนวทางที่ ๗. การเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์/อนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ ทั้งระดับชาติและสากล
แนวทางที่ ๑. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก  ทางน้ำ  และทางระบายน้ำและการปรับปรุง บำรุงรักษาในเขตชุมชนและท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ ๕
การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน


กลยุทธ์  การลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน แนวทางการพัฒนา

แนวทางที่ ๒. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
แนวทางที่ ๓. การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อื่น
แนวทางที่ ๔. การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
แนวทางที่ ๕. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
แนวทางที่ ๖. การสาธารณูปโภค – สาธารณูปการ
แนวทางที่ ๗. การผังเมืองของท้องถิ่นและผังเมืองรวมของจังหวัด
แนวทางที่ ๑. การจัดการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ ๖   การสร้างสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

กลยุทธ์   การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคม
๑.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยบูรณาการกับ  การศึกษาศาสนาวัฒนธรรมท้องถิ่น   
๑.๒ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีความพร้อมทั้งทางกายภาพและใช้ เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
๑.๓ ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ  และยกวิทยฐานะให้สูงขึ้น
๑.๔ พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาตามหลักการบริหาร  โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
๑.๕ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และ     สิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ ๒. การสังคมสงเคราะห์  และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาสและผู้ติดเชื้อ HIV จัดให้มีและเพิ่มศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
แนวทางที่ ๓. การสนับสนุนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา  กีฬาแห่งชาติ และการสนับสนุน ส่งเสริมกีฬา นานาชาติ
แนวทางที่ ๔. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/ลดอุบัติเหตุจราจรทางบก/  ทางน้ำ
แนวทางที่ ๕. การสาธารณสุข  การสร้างสุขภาพ  การรักษาพยาบาล  การป้องกันและ การควบคุมโรคติดต่อ/โรคระบาดและโรคไม่ติดต่อ   การพื้นฟูสุขภาพของประชาชน
แนวทางที่ ๖. การป้องกัน และการแก้ไขการแพร่ระบาดปัญหายาเสพติด
แนวทางที่ ๗. การรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อปลุกจิตสำนึกด้านคุณธรรม/จริยธรรมแก่ประชาชนในท้องถิ่น
แนวทางที่ ๘. การสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
แนวทางที่ ๑. ส่งเสริมเชื่อมโยงการชลประทาน  ก่อสร้างฝาย  ทำนบกั้นน้ำ  ขุดลอก  ขุดสระ  พัฒนาแหล่งน้ำ

ยุทธศาสตร์ที่ ๗   น้ำแก้จน


กลยุทธ์   การพัฒนาแหล่งน้ำ ในท้องถิ่น

แนวทางที่ ๒. คลองน้ำ  และการกระจายการใช้ประโยชน์
แนวทางที่ ๓. ก่อสร้างระบบแหล่งน้ำขนาดใหญ่
แนวทางที่ ๔. การพัฒนาลุ่มน้ำ

แนวทางที่ ๑. พัฒนาระบบและเพิ่มศักยภาพการผลิต/ผลผลิตด้านเกษตรอินทรีย์
ยุทธศาสตร์ที่ ๘   การพัฒนาเกษตรอินทรีย์

กลยุทธ์    การเพิ่มผลผลิตและลดการใช้ปุ๋ยเคมี
แนวทางที่ ๒ .การลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร

แนวทางที่ ๓. การเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร

แนวทางที่ ๔. การประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในการใช้เกษตรอินทรีย์แทนปุ๋ยวิทยาศาสตร์