ข้อมูลอื่น ๆ

 

หลักการและเหตุผล

จากการรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณสถาน แหล่งเรียนรู้ของอำเภอโชคชัย  ที่มีคุณค่าสมควรแก่การอนุรักษ์และเผยแพร่ ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ได้รวบรวมถึงประวัติความสำคัญ จากการสอบถามชาวบ้านในท้องถิ่น และศึกษาเพิ่มเติม จากหนังสือและอินเตอร์เน็ต ให้ประชาชนในอำเภอโชคชัยและบุคคลที่สนใจทั่วไป เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์โบราณสถาน ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ของอำเภอโชคชัยสืบไป

 

ปรางค์พะโค

ปรางค์พะโค  เป็นแหล่งเรียนรู้ด้าน โบราณที่เป็นรูปประติมากรรม ลวดลายประดับเทวรูปสามภูษาแบบสมบถ ( เป็นอิทธิพลของศิลปกรรมเขมรแบบเกลียงหรือคลัง

 

สถานที่ตั้ง

ปรางค์พะโค   ตั้งอยู่ริมถนนหลวงสาย 2071 โชคชัย- ครบุรี ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 3-4 ริมถนนด้านขวามือ ห่างจากตัวอำเภอโชคชัย ประมาณ 4 กิโลเมตร บริเวณบ้านพะโค หมู่ที่ 11 ตำบลกระโทก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

 

ประวัติความเป็นมา

ปรางค์พะโค   เป็นสถาปัตยกรรมเขมรขนาดเล็กตั้งอยู่บนผังรูปตัวที ประกอบด้วยปราสาท 3 หลัง ปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลางหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและปราสาทบริวารที่ตั้งอยู่เยื้องมาทางด้านหน้าอีก 2 หลัง ก่อด้วย หินทรายศิลาแลงและอิฐ ล้อมรอบด้วยสระน้ำรูปตัวยู มีการขุดแต่งบูรณะระหว่างปี พ.ศ. 2533-2534 โดยกรมศิลปากร

 

จากว่าเทวรูสามภูษาแบบสมบถ จีบเป็นริ้วชัดชายออกมาเป็นวงโค้งขนาดใหญ่ เบื้องหน้ากับทั้งมีชายภูษาหางปลา 2 ชิ้น ห้อยตกลงมา ยิ่งกว่านั้นที่หน้าอกมีการประดับลายอันเป็นศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ ราวครึ่งหลังศตวรรษที่ 15 ดูเหมือนจะเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่พบที่ปรางค์พะโคแห่งนี้นอกจากนี้ แล้วเทวรูปสตรีประดับผนังก็นุ่งผ้า และมีเครื่องประดับเกศา แบบศิลปะเขมร สมัยบันทายศรีราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 อย่างไรก็ดีทับหลังประดับโบราณสถานหลายชิ้น ยังแสดงถึงอิทธิพลของศิลปกรรมเขมรแบบเกลียงหรือคลังและบาปวนอยู่เช่น การที่ท่อนพวงมาลัยคลี่คลายออกมาจากด้านล่างและมีพวงอุบะแบ่งเสี้ยวของทับหลังอันเป็นแบบเฉพาะของศิลปะเขมรแบบบาปวน กลางพุทธศตวรรษที่ 16 ต้นพุทธศตวรรษที่ 17

ประวัติความเป็นมาของปรางค์พะโค จากการถ่ายทอดจากรุ่นปู่ รุ่นย่า ตายาย สู่รุ่นลูกหลายท่านได้เล่าว่าชาวบ้านที่โยกย้ายมาอยู่ มาจากที่อื่น และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ตามหัวไร่ปลายนา ก็ได้เห็นปรางค์แห่งนี้แล้ว ซึ่งก่อนที่กรมศิลปากรจะมาทำการบูรณะที่เป็นองค์ปรางค์จะมีก้อนดินขนาดใหญ่ทับถมไม่เห็นตัวปรางค์ชัดเจน จนกระทั่งกรมศิลปากรเข้ามาทำการบูรณะ เอาดินที่ทับถมอยู่ออก จึงเห็นปรางค์ได้ชัดเจน

 

คำว่า พะโค  น่าจะมาจากคำว่า  พักโค   มื่อก่อนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พราหมณ์- ฮินดู จากเส้นทางปราสาทหินนครวัดนครธม ( ปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา หรือเขมร ) เดินทางผ่านป่าเขาต่างๆ ไปยังปราสาทหินพิมาย (ปัจจุบันอยู่ที่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ) จะมีการเดินทางโดยใช้สัตว์เป็นพาหนะ โค ก็เป็นชนิดหนึ่ง ที่น่าจะใช้เดินทางครั้งนี้ เมื่อมาถึงทำเลที่เหมาะสมใกล้แหล่งน้ำ ( สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นลำน้ำมูล ) ก็จะมีการพักแรมมีการสร้าง ศาสนสถานเล็กๆ เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรม และบูชาพระเจ้าหลังจากประกอบพิธีกรรมและมีการเคลื่อนย้ายไปที่อื่นก็อาจจะเอา ดินบริเวณใกล้เคียงมาทับถมศาสนสถาน ที่ก่อสร้างขึ้น ( ซึ่งก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเอาดินมาทับถมเองหรือเกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ) ถ้าเราดูบริเวณรอบๆองค์ปรางค์ก็จะเห็นสระน้ำ ซึ่งปัจจุบันเป็นสระน้ำขนาดใหญ่รูปตัวยู อยู่ล้อมรอบบริเวณปรางค์พะโค

 

ปัจจุบันปรางค์พะโค อยู่ในความดูแลของ องค์การบริหารส่วนตำบลกระโทก ปรางค์พะโคได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร แต่ยังไม่ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือปรับทัศนียภาพให้สวยงาม และยังไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเท่าไรนัก    แต่ถ้าพวกเราซึ่งเป็นคนกระโทก- โชคชัยช่วยกันอนุรักษ์ไว้ โบราณสถานแห่งนี้ก็จะอยู่กับเราไปตราบนานเท่านาน

 

 

ประดับตกแต่งต้นเทียน  งานแห่เทียนพรรษา  วัดโบสถ์คงคาล้อม

เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา  วัดโบสถ์คงคาล้อมเป็นศูนย์กลางของชุมชนตำบลกระโทกในการสืบสานงานประเพณีแห่เทียนพรรษา  โดยเด็ก เบาวชน ประชาชน วัด  องค์กรปกครองส่วนทั้งถิ่น โรงเรียนและหน่วยงานทุกภาคส่วนในเขตตำบลกระโทก และพื้นที่ไกล้เคียง  จะทำกิจกรรมแกะสลัก ประดับตกแต่งต้นเทียน  เพื่อสืบสานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา  มีความวิจิตร งดงาม แฝงไปด้วยเรื่องราวต่างๆของชุมชน

 

 

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  ทีมงานวัดโบสถ์คงคาล้อม
 

หมี่กระโทก  หมู่ 4 ตำบลกระโทก  อ.โชคชัย

หมี่กระโทก  เเป็นสินค้าOTOP ของตำบลกระโทก  ซึ่งมีลักษณะเส้นบาง หอม  อร่อย